วรรณคดีไทยและประวัติวรรณคดีไทย
วรรณคดี
แปลว่าเรื่องที่แต่งเป็นหนังสือ มีความหมายตรงกันคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษ
แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความของวรรณคดีว่า
หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร
เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร
กล่าวว่า
๑ .เป็นหนังสือดี กล่าวคือ
เป็นเรื่องที่สมควรซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์
คือไม่เป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็นแก่นสาร
ซึ่งจะชวนให้คิดวุ่นวานทางการเมืองอันเกิดเป็นเรื่องรำคาญแก่รัฐบาลของพระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ( เพราะคนรู้น้อยอาจจะไขว้าเขวได้ )
๒.เป็นหนังสือแต่งดี
ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใด ๆ ก็ตามแต่ต้องให้เป็นภาษาไทยอันดี
ถูกต้องตามเยี่ยงที่ใช้ในโบราณกาลหรือปัจจุบันกาลก็ได้ ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ (
เช่น ใช้ว่า ไปจับรถ แทน ไปขึ้นรถ และ มาสาย แทน มาช้า ดังนี้เป็นตัวอย่าง )
วรรณคดี คือ ความรู้สึกนึกคิดของกวี
ซึ่งถอดออกมาจากจิตใจให้ปรากฎเป็นรูปหนังสือ มีถ้อยคำเหมาะเจาะเพราะพริ้ง
เร้าใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความรู้สึก
วรรณคดี คือ
หนังสือที่มีลักษณะเรียบเรียงถ้อยคำเกลี้ยงเกลาเพราะพริ้งมีรสปลุกมโนคติ ( imagination
) ให้เพลิดเพลิน
เกิดกระทบกระเทือนอารมณ์ต่าง ๆ เป็นไปตามอารมณ์ของผู้ประพันธ์บทประพันธ์ที่เป็น
วรรณคดี คือ
บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความเพลิดเพลิน ให้เกิดความรู้สึกนึกคิด(imagination) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน
นอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดีจะต้องมีรูปศิลปะ ( form )
เท่าที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่าวรรณคดี
คือ เรื่องที่มีลักษณะดังนี้
๑ .ใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารไพเราะสละสลวย
๒ .ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
๓ .ยกระดับจิตใจให้สูง
๔ .ใช้เป็นแบบแผนในการแต่งได้
ร้อยกรอง คือ
บทประพันธ์ที่แต่งให้มีสัมผัสของคำเชื่อมโยงกัน โดยมีคณะของคำตามหลักที่กำหนดไว้ในฉันทลักษณ์หรือตำรากลอนต่าง
ๆ เช่น มีครุ ลหุ เอก โท เป็นต้น
รูปแบบของร้อยกรองวรรณคดีที่เป็นร้อยกรอง
( กาพย์กลอนของไทย ) ได้เจริญเรื่อยมา
และแบ่งตามรูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้แต่งเรื่องนั้น ๆ ได้ดังนี้
๑ .คำหลวง
เป็นเรื่องที่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ทรงแต่ง หรือ
ทรงเกี่ยวข้องในการแต่ง ไม่จำกัดรูปแบบคำประพันธ์
แต่ต้องเป็นเรื่องที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา
เท่าที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ มหาชาติคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง
พระมาลัยคำ-หลวง และพระนลคำหลวง
๒ .คำฉันท์ ได้แก่
วรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์ชนิดต่าง ๆ มักมีกาพย์บางชนิดปนอยู่ด้วย เช่น สมุทรโฆษคำฉั
นท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นต้น
๓ .คำโคลง ได้แก่
วรรณคดีที่แต่งเป็นโคลงคั้นหรือโคลงสี่สุภาพ เช่น โคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น
๔ .คำกลอน วรรณคดีที่แต่งเป็นคำกลอนชนิดต่าง
ๆ ได้แก่ กลอนสุภาพ กลอนเสภา กลอนบทละคร กลอนหก เช่น พระอภัยมณี
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
๕ .คำกาพย์ ได้แก่
วรรณคดีที่แต่งเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ เช่น
กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา เป็นต้น
๖.กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ได้แก่
วรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงและกาพย์ เช่น กาพย์ห่อโคลงประพาศธารทองแดง
กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
๗ .ร่ายยาว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร่ายยาว เช่น
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น
๘.ลิลิต ได้แก่
วรรณคดีที่แต่งโดยใช้โคลงและร่ายปนกัน รับสัมผัสคำแบบลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ
ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น
นอกจากแบ่งตามลักษณะคำประพันธ์แล้ว
ยังแบ่งตามเนื้อเรื่อง เช่น นิราศ เพลงยาว นิทานคำกาพย์ นิทานคำกลอน คำสอน เป็นต้น
บทละคร คือ
เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อการแสดงบนเวทีรูปแบบของบทละคร
๑ . บทละครรำ เป็นบทละครแบบเดิมของไทย
ได้แก่ บทละครเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ สังข์ทอง เป็นต้น
๒ . บทละครแบบตะวันตก ได้แก่
บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ บทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า
บทละครคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา เป็นต้น
การแบ่งประเภทวรรณคดีตามเกณฑ์ต่าง ๆ
วรรณคดีไทยอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้
แบ่งตามความมุ่งหมาย แยกได้ ๒ ประเภท
คือ
๑.สารคดี คือ
หนังสือที่มุ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญแต่ในขณะเดียวกันก็ใช้กลวิธี
การเขียนให้เกิดความบันเทิงเป็นผลพลอยได้ไปด้วย เช่น บทความหรือความเรียง
หนังสือสารคดี ตำรา บันทึก จดหมายเหตุ รายงาน พงศาวดาร ตำนาน ปาฐกถา คำสอน
๒.บันเทิงคดี คือ
หนังสือที่มุ่งให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านมากกว่าความรู้ แต่อย่างไรก็ดี
บันเทิงคดีย่อมมีเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญแทรกอยู่ด้วยในรูปของคติชีวิตและเกร็ดความรู้
เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย บทละครพูด นิทาน นิยาย
แบ่งตามลักษณะที่แต่ง แยกได้ ๒ ประเภท
คือ
๑ . ร้อยแก้ว
อาจแต่งเป็นสารคดีหรือบันเทิงคดี โดยมีรูปแบบต่าง ๆ
๒ . ร้อยกรอง หมายถึง
ความเรียงที่ใช้ภาษาพูดตามธรรมดา แต่มีรูปแบบโดยเฉพาะและมีความไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย
ร้อยกรองอาจเรียกว่าคำประพันธ์ กาพย์กลอน หรือ กวีนิพนธ์ ก็ได้
ร้อยกรองแต่เป็นกลอน โคลง ร่ายกาพย์และฉันท์ อาจแต่งเป็นสารคดีและบันเทิงคดี
ส่วนมากเป็นบันเทิง
คดี โดยอาจแบ่งรูปตามชนิดของ
คำประพันธ์ หรือลักษณะของเนื้อเรื่อง
แบ่งตามลักษณะการจดบันทึก แยกได้ ๒
ประเภท คือ
๑ .วรรณคดีลายลักษณ์อักษร ได้แก่
วรรณคดีที่บันทึกไว้เป็นหนังสืออาจเป็นตัวจารึก ตัวเขียน หรือตัวพิมพ์ก็ได้
๒.วรรณคดีที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่วรรณคดีที่บอกเล่าจดจำสืบต่อกันมาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วรรณคดีมุขปาฐะ
เช่นเพลงพื้นเมือง บทเห่กล่อม นิทานพื้นบ้าน ปริศนาคำทาย
การแบ่งประเภทวรรณคดีดังกล่าวอาจคาบเกี่ยวกันได้
สารคดีโดยทั่วไปมักแต่งเป็นร้อยแก้วแต่อาจแต่งเป็นร้อยกรองก็ได้บันเทิงคดี
อาจแต่งเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น